สรุปมาตรการเยียวยานายจ้าง ลูกจ้าง บางคนได้เกือบ 10,000

สรุปมาตรการเยียวยานายจ้าง ลูกจ้าง บางคนได้เกือบ 10,000

หลังจากที่รัฐบาลมีการเคาะมาตรการช่วยเหลือในภาคธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดไซต์งานก่อสร้าง หรือธุรกิจจำพวกร้านอาหารที่เปิดให้บริการนั่งกินที่ร้านไม่ได้ ซึ่งมีการแบ่งมาตรการเป็นหลายประเภท มาตรการเหล่านี้ อาจทำให้คนสับสน ดังนั้นวันนี้เราจะมาสรุปให้ในกระทู้เดียวว่า แนวทางการช่วยเหลือนั้นเป็นยังไงกันแน่

รัฐบาลจะมีการช่วยเหลือทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

จำนวนเงินการช่วยทั้งหมดจะได้รับต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าสถานประกอบการนั้น ๆ อยู่ในระบบประกันสังคมหรือไม่

กลุ่มธุรกิจที่ได้รับการเยียวยา มี 4 ประเภท ได้แก่ ก่อสร้าง, ที่พักโรงแรม, บริการด้านอาหาร, ความบันเทิงและสันทนาการ

พื้นที่ที่ได้รับการช่วยเหลือ 10 จังหวัด กรุงเทพฯ, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา และสงขลา

อยู่ในระบบประกันสังคม จะได้รับการช่วยเหลือ ดังนี้

1. นายจ้าง จะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 3,000 บาท เป็นการจ่ายรายหัวให้กับลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการจริง ไม่เกิน 200 คน เป็นเวลา 1 เดือน

2. ลูกจ้าง จะได้รับการช่วยเหลือ 2 ส่วน ได้แก่

รับค่าจ้างในสัดส่วน 50% แต่ไม่เกิน 7,500 บาทต่อคนต่อเดือน ซึ่งส่วนนี้จะได้เฉพาะลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมเท่านั้น

รัฐบาลจ่ายให้อีก 2,000 บาทต่อคน กรณีลูกจ้างถูกลดเงินเดือน หรือบางธุรกิจไม่จ่ายเงินเดือน

ดังนั้น จะมีลูกจ้างบางคนได้เงินสูงสุด 7,500+2,000 บาท เป็น 9,500 บาท

ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม จะได้รับการช่วยเหลือ ดังนี้

1. นายจ้าง จะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 3,000 บาท เป็นการจ่ายรายหัวให้กับลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการจริง ไม่เกิน 200 คน เป็นเวลา 1 เดือน แต่การที่จะได้รับเงิน ต้องทำเรื่องส่งข้อมูลเข้าประกันสังคมภายใน 1 เดือนเพื่อขอรับความช่วยเหลือ

2. ลูกจ้าง จะได้รับเงินเพียงส่วนเดียวคือ เงินช่วยเหลือจากรัฐบาล 2,000 บาทต่อคน สำหรับลูกจ้างถูกลดเงินเดือนหรือบางธุรกิจไม่จ่ายเงินเดือน

3. ผู้ประกอบการไม่มีลูกจ้าง ไม่สามารถเข้าระบบประกันสังคมได้ ก็สามารถรับความช่วยเหลือได้คือ ลงทะเบียนผ่านแอปฯ ถุงเงิน ในส่วนมาตรการคนละครึ่ง เพื่อรับเงินเยียวยา 3,000 บาท ผ่านแอปฯ

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ