เผยที่มากี่เพ้า พระราชินี

เผยที่มากี่เพ้า พระราชินี

เมื่อวันที่ 13 ก.พ. แฟนเพจ We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้โพสต์ภาพ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงประกอบพิธีสังเวยพระป้ายในเทศกาลตรุษจีน พุทธศักราช 2564 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยระบุข้อความว่า ฉลองพระองค์กี่เพ้า ผ้าไหมไทยพื้นเรียบสีแดงเลือ ดนกพิราบ(Pegeon blood color)ตกแต่งลวดลายด้วยไหมดิ้นทอง

ในหลวง พระราชินี

กี่เพ้า ในภาษาจีนเรียกว่า ฉีผาว เป็นเครื่องแต่งกา ยสำหรับสตรีชาวจีน มีลักษณะเหมือนเสื้อ มีชายเสื้อยาวปกคลุมท่อนขา ขนาดพอดีตัว ด้านข้างมีตะเข็บผ่าเพื่อให้ก้าวขาได้สะดวก รูปแบบของฉีผาวในปัจจุบัน ได้รับการปรับปรุงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ให้มีรูปทรงแนบกับสรีระ เพื่อเน้นทรว ดทร งของผู้สวมใส่

เป็นแฟชั่นที่นิยมในสังคมคนชั้นสูงของจีนในช่วงปลายราชวงศ์ชิง จนถึงช่วงสงครา มโลกครั้งที่สอง มีการดัดแปลงให้ชายฉีผาวสั้นลง ปรับปรุงแบบคอปก และเนื้อผ้าแบบต่างๆ

ความหมายของสีในวัฒนธรรมจีน สีแดง เป็นสีประจำชาติจีน เป็นสีที่แทนธาตุไฟ หมายถึงแสงสว่าง ความอบอุ่น ความรุ่งโรจน์ สื่อถึงความสำเร็จ ความโชคดี ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง ความซื่อสัตย์ เป็นสีแห่งความเป็นมงคล สีเหลืองทอง เป็นสีประจำองค์จักรพรรดิจีนทุกยุคสมัย เป็นสีที่แทนธาตุดิน หมายถึง ความเป็นปึกแผ่น มั่นคงมั่งคั่ง ความโชคดี ความสดชื่นรื่นเริง เป็นความหวังที่ทุกคนปรารถนา

ทั้งนี้เป็นชุดที่สวมใส่สง่างาม และเหมากับพระองค์มาก ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ

ขอบคุณ We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เรียบเรียง siamtoday

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ